เกร็ดการการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลเทียม?


ชื่อเสียง หรือ ตัวเลขการโต้ตอบของผู้ติดตาม (engagement) มีอิทธิพลสูงต่อการตลาดอย่างมาก

จึงได้มีคำว่า การตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลไงล่ะครับ (Influencer marketing)

ผู้ทรงอิทธิพลในที่นี้ ไม่ใช่เข้าองค์ทรงเจ้า หรือมาเฟียคุมวิน นะครัชชชชช

แต่หมายถึงคนที่มีจุดเด่นบางอย่าง เป็นที่ยอมรับสูงของคนบางกลุ่ม

อย่างคุณบอยวิสุทธิ เป็นผู้ทรงอิทธิพลในด้านการพัฒนาความคิด ถ้าเขาพูดเรื่องการพัฒนาความคิด คนที่อยากพัฒนาความคิดจะเชื่อเขามาก

แต่ถ้าเขาไปพูดถึงชีววิทยาอย่างเป็นตุเป็นตะ ผู้ติดตามของเขาจะเฉยๆ และ คนในกลุ่มชีววิทยาอาจจะแอนตี้ไปเลย

นี่คือหลักการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลครับ

ในวันนี้ที่ผมพูดถึงเรื่องนี้ เพราะจะนำเสนอทฤษฎีอย่างนึง ที่ชื่อว่า ผู้ทรงอิทธิพลเทียม

ไม่ใช่ประเด็นคนไม่เก่ง อวดรู้ว่าตนเก่งนะครับ

แต่หมายถึง คนที่สามารถรวมกลุ่มคนในด้านใดด้านนึงได้สูง แม้ไม่ถนัดในเรื่องนั้นๆ เลย

อย่างเช่น เพจเกี่ยวกับ surfing ที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับ surfing เลย

แค่ลงรูปการ surfing แบบสวยๆ หรือ สะกดสายตา จนมีผู้มาติดตามเยอะ พูดคุยกันในเพจเยอะ

แบบนี้ก็เอามาผนวกในการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลได้ครับ 

ดีไม่ดี ผู้ทรงอิทธิพล อาจมาขอให้คนเหล่านี้ช่วยโฆษณาให้ด้วยซ้ำ

เก๋ปะละ?

ผู้ทรงอิทธิพลเทียม อาจเป็นคน หรือ นามจำลองก็ได้  ความสามารถเดียวที่ต้องมีคือ การสรรหา content เจ๋งๆ มาป้อนผู้ติดตาม

ซึ่งที่มาของ content อาจจะทำเอง หรือ ดัดแปลง หรือ copy เลย ก็แล้วแต่ว่าจะถนัดอะไร

แต่โดยมาก เริ่มต้นด้วยการ copy ครับ

ในตอนแรกที่เรายังไม่โต แม้เราจะแชร์ content จากแหล่งโดยตรง ก็โดนด่าครับ บอกเลย เพราะเรามีวัตถุประสงค์ที่จะเอา content เขามาสร้างชื่อ โดยไม่กล่าวขอก่อน  สังเกตเพจที่ใหญ่ๆ ของต่างประเทศ  ขนาดจะแชร์ เขายังกล่าวคำขอแชร์ก่อนเลย ถึงจะกดแชร์

ต่อมาเมื่อเราโต...จะไม่มีใครมางอแงเลย กลับ Thanks เราอีก ที่ช่วยแชร์ (เป็นงั้นไป)

ผมถึงได้เอาคำว่า ตัวเลขโต้ตอบของผู้ติดตาม  ขึ้นมาเทียบข้างกับคำว่า ชื่อเสียง ไงล่ะครับ

นี่คือสิ่งที่ผมเจอ และเกิดขึ้นเสมอๆ ในโลกของคำว่า การตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพล

โพสต์นี้อาจไม่มีสาระนัก ก็ถือว่าอ่านเอาเพลินๆ ครับ

photo; https://unsplash.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.