ค้นหาแหล่งสินค้าน่าขาย (ตอนแรก)
จากบทที่แล้ว “แนวคิดในการเลือกสินค้าน่าขาย” ก็คงพอจะเข้าใจคร่าวๆ แล้วนะครับ หลักๆ แล้วผมอยากให้มอง Drop shipping ไว้ก่อนครับ อย่าเพิ่งเสี่ยงลงทุนซื้อสินค้ามาสต็อกเอง Drop shipping จะเหมาะมากสำหรับคนที่อยากรับความเสี่ยงต่ำ เพราะไม่ต้องลงทุนเรื่อง Stock สินค้าหรือจัดส่ง โจทย์หลักของเราแค่การหาลูกค้าเท่านั้น จึงถือเป็นโมเดลที่ทำได้แม้กระทั่งพนักงานประจำที่อยากสร้างรายได้เสริมคู่งานหลัก ไม่กระทบเวลาและเรี่ยวแรง เดี๋ยวท้ายบทที่สองผมจะแถมข้อมูลให้ครับว่า Drop Shipper แบบไหนน่าคบ ไม่น่าคบ...
มาเริ่มการค้นหาสินค้ากันเลยครับ สมมติว่า ผมตัดสินใจที่จะขาย สินค้าเสริมสมรรถภาพทางเพศ นะครับ ทีนี้มาดูวิธีที่ผมใช้หาสินค้าตัวนี้กัน
พี่จะพาน้องมาขุดทองที่ google
เริ่มการหาสินค้า เราไม่ต้องไปไหนไกลครับ เข้า google.com เลย แล้ว Search ด้วย Key word (คำค้นสินค้า) ที่เกี่ยวข้อง เช่น เสริมสมรรถภาพทางเพศ
1. จากนั้นก็ List ชื่อสินค้าไว้ครับ ถ้า key word ที่เราค้น ไม่ค่อยเจอร้านค้า เจอแต่บทความ...ก็เพิ่มคำใหม่ๆ ลงไปครับ ที่ใกล้เคียงกัน เช่น แก้หลั่งเร็ว แก้นกเขาไม่ขัน ฯลฯ หรืออาจเพิ่มคำว่า ตัวแทนจำหน่าย, จำหน่าย หรือ ขาย ฯลฯ ก็ได้...หรือเลื่อนลงมาที่ท้ายหน้าจอครับ จะมีคำค้นที่เกี่ยวข้องให้เราเลือกค้นหาเพิ่มเติม
2. เมื่อได้รายชื่อทั้งหมดแล้วให้ทำการเช็คราคาขายปลีก ทุกแบรนด์ แบรนด์ละอย่างต่ำ 3-4 ร้าน เพื่อหาราคาขายปลีกต่ำสุด เพราะบางร้านอาจแอบตัดราคากันเอง ซึ่งจะส่งผลในการขายของเราครับ ดังนั้นเราต้องรู้ให้หมดครับว่าต่ำสุดเขาขายกันที่เท่าไร
3. ค้นหาร้านที่เปิดรับตัวแทนจำหน่ายแบบไม่สต็อก (Drop Shipping) ในข้อนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นร้านที่เรา List ไว้เสมอไปนะครับ เพราะข้อ 1 กับ ข้อ 2 เราทำการวิจัยตลาดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการ Deal ธุรกิจ
4. ติดต่อขอทราบราคาส่งแบบไม่สต็อก เน้นร้านที่ส่งเริ่มต้น 1 ชิ้นได้ ในข้อนี้อาจลองต่อราคาดูก่อนนะครับ ไม่ต้องอาย เพราะมีบางเจ้าที่เขาอยากเน้นจำนวนขายมากกว่ากำไรต่อชิ้น ถ้าต่อราคาลงได้อีก ถือว่าโชคดีครับ
5. หา % ส่วนต่างระหว่างราคาส่ง กับ ราคาปลีกต่ำสุด (จากข้อ 2) ว่าได้กี่ %
สมมติ สินค้า OZEN ราคาขายปลีกต่ำสุดที่ 2,000 บาท (สมมตินะ) เราขอจำหน่ายตัวแทนแบบไม่สต็อก เขาให้เรา 1,400 บาท เท่ากับส่วนต่างกำไรอยู่ที่ 30% มากกว่า 25% ที่ผมแนะนำไว้ในบทที่แล้ว ก็เก็บเอาไว้ก่อนครับ แล้วไปเก็บข้อมูลตัวแทนรายอื่นๆ ต่อ
6. คัดเอาตัวแทนที่ให้ราดีที่สุดของแต่ละแบรนด์เอาไว้นะครับ ไม่ใช่คัดแบรนด์ทิ้งให้เหลือแค่แบรนด์เดียวนะ สมมติ OZEN มี 3 เจ้าที่เปิด Drop shipping ก็คัดเอาเจ้าที่ราคาสวยที่สุดเอาไว้ รวมกับ แบรนด์อื่นๆ อย่าง BigJ และ Vimax เป็นต้น
ตอนนี้เรามี Drop shipper ที่น่าลงทุนของแต่ละ Brand แล้วนะครับ แต่ก่อนจะเลือกว่า เราจะลงทุนขายกับแบรนด์ไหน เราต้องไปสำรวจความเป็นไปได้ทางตลาดที่เราจะขายด้วย คือ Facebook ครับ…ก็ log in เข้า Facebook ไปเลยครับ แล้วไปเซิซหาสินค้าตามแบรนด์ที่เราคัดมา
วิธีเซิซคือ ใส่ชื่อสินค้าในกล่องค้นหา จากนั้นรอโหลดสักพักแล้วกดที่บรรทัดล่างสุดเลยครับ ไม่ต้องรอให้โหลดเสร็จ จากนั้นก็เลือกที่ Page (หน้า) ที่เมนูด้านซ้ายครับ ตัวอย่างภาพด้านล่าง
ในขั้นตอนนี้เราจะเก็บข้อมูลเฉพาะ Page หรือ หน้า เท่านั้นนะครับ พวก User Profile หรือ Facebook Group เราจะไม่ดู ผมว่ามันเสียเวลามากไป ผมเลยจะคัดเฉพาะคู่แข่งที่สามารถลงโฆษณาได้ ซึ่งก็มีเพียง Page เท่านั้นที่โฆษณาได้เต็มรูปแบบ
ทีนี้ก็มาเก็บข้อมูลกันครับ โดยดูจาก
1. จำนวนคู่แข่งในแบรนด์เดียวกัน
2. ขนาดของ Page ตัวแทนแบรนด์นั้นๆ (ว่าโตมากไหม)
เมื่อเทียบตัวเลขกันแล้ว ผมจะคัดแบรนด์ที่มีคู่แข่งกันเองเยอะ และ แบรนด์ที่มี Page Like สูงมากๆ (พยายามเทียบกันดูครับ) ออกไปเลย
ถามว่าทำไมผมถึงไม่สนใจแบรนด์ที่ท่าทางจะขายดี มีภาษีทางภาพลักษณ์ดีกว่า?
จำบทเรียนก่อนได้ไหมครับ ที่ผมเขียนไว้ว่า “ยี่ห้อเดียวกัน ; บางทีเจ้าของสินค้าอาจรับตัวแทนจำหน่ายจำนวนมาก จนเกิดการแข่งขันกันเอง แม้สินค้าจะชื่อเสียงโด่งดัง ดีเลิศประเสริฐศรียังไง แต่คู่แข่งเยอะก็ไม่ไหวครับ โบกมือบายๆ เลยดีกว่า” ความหมายของผมก็ตามนั้นครับ ผมไม่อยากไปขายตามขาใหญ่ที่เขาคุมตลาดมาก่อน ผมขอเป็นตัวแทนแบรนด์ใหม่ในตลาด...ก็แล้วกัน รอช้อนลูกค้าที่เขาเบื่อสินค้าตัวเดิม แล้วอยากลองของใหม่บ้างไรบ้าง...น่าจะเบาแรงกว่า
หลักการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้ไม่ใช่จะถูกเสมอไปหรอกนะครับ เพราะสาเหตุที่สินค้าตัวอื่นตีตลาดไม่ได้ อาจเพราะคุณภาพไม่ถึง หรือมีจุดด้อยหลายประการ...แต่ด้วยโมเดลที่ผมจะสอน มันต้องลงทุนโฆษณา ต้องจ่ายเงินออกก่อนถึงจะได้เงินเข้า ถ้าหากเราโฆษณาในยี่ห้อสินค้าเดียวกับคนอื่นๆ อีก 10 ร้าน...ถามว่าเมื่อไรเราจะขายออก?
แต่กลับกัน ถ้าเราเอาตัวอื่นที่ลูกค้าไม่คุ้นเคยมาวาง มันจะแลดูใหม่กว่า สะดุดสายตากว่า น่าค้นหา น่าลองกว่าไหมครับ?
แม้สุดท้าย ระยะยาว คุณภาพสินค้าไม่ถึงจริงและไม่สามารถสร้างการ Repeat order ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่...เมื่อเกิดการซื้อไว เราก็ได้กำไรไว...ใช่ไหม?
ผมใช้หลักคิดแบบนี้ในการหารายได้ด้วย Facebook Commerce มานาน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จทุกตัว แต่บวกลบคูณหารแล้ว ต่อเดือนก็กำไรโขครับ ใครอยากได้แบบผมก็อยากให้เริ่มต้นแบบผม ส่วนใครที่อยากลองผิดลองถูกเอง...ก็ขอให้เก่งอีกนิดก่อนแล้วกันนะครับ เจ็บมาจะได้ไม่ท้อ
การขายสินค้า ไม่มีสูตรสำเร็จ... พยายามเปิดมุมมองให้กว้าง หูตาว่องไว พัฒนาทักษะการขายตลอด...และไม่จำเป็นต้องเชื่อผมตลอดชีวิต
จบไปแล้วนะครับสำหรับการค้นหาสินค้าด้วย Google เดี๋ยวบทหน้าจะพาไปค้นหาสินค้าในที่อื่นบ้าง แต่เป็นบริบทใหม่นะครับ คือ กรณีที่เรายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะขายสินค้าหมวดหมู่ไหน...ประมาณว่ายังเลือกไม่ถูก ยังไม่รู้ใจตัวเอง อยากไปเดินดูตลาดก่อน เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจ...
เคยเดินตลาดนัดไหม อารมณ์ประมาณนั้นแหละครับ เราไม่รู้หรอกว่าเราจะเจออะไรบ้าง เดี๋ยวผมจะพาไปดูกันครับ บทหน้า
Leave a Comment